เขียนโดย ธนา อุทัยภัตรากูร
หลักการก่ออิฐเบื้องต้น
บ้านดินส่วนใหญ่ในเมืองไทยสร้างโดยใช้เทคนิควิธีแบบอิฐดินดิบ โดยพื้นฐานแล้วผนังอิฐดินดิบนี้เป็นการก่อสร้างในระบบผนังรับน้ำหนัก หมายถึงการที่ผนังทั้งหมดทำหน้าที่เหมือนเป็นเสารับน้ำหนักจากด้านบน เพราะฉะนั้นการก่ออิฐที่ดีจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก การก่ออิฐที่ถูกวิธีจะช่วยให้การถ่ายน้ำหนักลงสู่ฐานรากและพื้นอย่างสมดุล
ช่างก่อสร้างโดยส่วนมากจะมีทักษะในการก่ออิฐมอญ ซึ่งลักษณะการก่อของอิฐดินดิบนั้นไม่ต่างกันมากนัก แต่ระบบการรับน้ำหนักนั้นต่างกันมาก เพื่อความเข้าใจในการก่ออิฐที่ถูกต้อง ผมจึงเขียนบทความนี้ขึ้น สำหรับผู้ที่อาจจะไม่คุ้นชินกับการก่ออิฐมอญ และโดยเฉพาะกับการก่ออิฐเพื่อเป็นผนังรับน้ำหนัก
ก่อนที่จะอธิบายถึงการก่ออิฐ ผมขออธิบายความแตกต่างระหว่างโครงสร้าง 2 ประเภทที่ต่างกัน ได้แก่


การก่ออิฐของผนังรับน้ำหนักจึงสำคัญกว่าการก่ออิฐมอญเพราะเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างที่จะรับน้ำหนักทั้งของตัวมันเองและของโครงสร้างที่อยู่ด้านบน หลักการง่าย ๆ ของการก่ออิฐคือการให้รอยต่อของอิฐแต่ละชั้นเหลื่อมกันครึ่งก้อน หรืออย่างน้อยที่สุดต้องเหลื่อมกันเป็นระยะ ๑๐ เซนติเมตร ผนังอิฐที่ก่อไม่ควรมีรอยต่อซ้อนกัน (ดังภาพ)
การก่อที่ไม่ถูกต้องจะทำให้การรับน้ำหนักของผนังไม่กระจายออก ทำให้เกิดแรงเฉพาะจุดอาจะทำให้ทรุด เมื่อมีน้ำหนักกดในส่วนที่ก่อไว้ไม่ดีอาจทำให้เกิดการร้าว
จากหลักการที่กล่าวมา ผมจึงเขียนตัวอย่างของการก่ออิฐในส่วนต่าง ๆ ของอาคาร ไว้เป็นแนวทาง1. การก่ออิฐในส่วนมุมของอาคาร มุมของอาคารเป็นส่วนที่สำคัญเพราะเป็นจุดตัดของอาคาร ซึ่งต้องทำหน้าที่ทั้งรับน้ำหนัก และช่วยค้ำผนังทั้งสองข้างไม่ให้ล้มง่าย



4. การก่อเสา ใน บางครั้งเราอาจต้องการเสาดิน ให้ก่ออิฐสลับกันในแต่ละชั้น ในกรณีนี้ อิฐที่ใช้ควรออกแบบให้มีความยาวเป็น 2 เท่าของความกว้าง (เช่น 6"x12" หรือ 8"x16") เพื่อให้เสาเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสเท่ากันทั้งสองด้าน เราอาจใช้มีดพร้าถากเพื่อลดมุม หรือทำให้เป็นเสากลมก็ได้
อ้างอิงจาก : http://www.baandin.org/web/index.php?option=com_content&task=view&id=168&Itemid=59
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก www.baandin.org ครับ
0 comments:
Post a Comment